สนาม: ยาออนไลน์อยู่
บทนำ: ตั้งแต่กระทรวงการคลังเริ่มกดปุ่มเปิดตัวโครงการ แก้ไขหนี้นอกระบบอย่างบูรณาการและยั่งยืน ภายใต้แนวคิด ขจัดหนี้นอกระบบเป็นศูนย์ เมื่อเดือน มีค 2560 ซึ่งวางเป้าหมายในการแก้ไขปัญหาทั้งในส่วนของลูกหนี้และเจ้าหนี้ควบคู่กันไปอย่างเป็นระบบ และครบวงจร ภายใต้แนวทางการดำเนินงาน 5 มิติ ได้แก่ 1ดำเนินการอย่างจริงจังกับเจ้าหนี้นอกระบบที่ผิดกฎหมาย โดยได้มีพระราชบัญญัติ (พรบ) ห้ามเรียกเก็บดอกเบี้ยเกินอัตรา พศ2560 ซึ่งได้เพิ่มโทษกับเจ้าหนี้นอกระบบ เพื่อกำจัดเจ้าหนี้นอกระบบที่ผิดกฎหมายให้หมดไปจากประเทศไทย 2การเพิ่มช่องทางการเข้าถึงสินเชื่อในระบบให้กับลูกหนี้นอกระบบและประชาชนทั่วไป โดยสนับสนุนให้เจ้าหนี้นอกระบบเข้ามาเป็นเจ้าหนี้ในระบบที่ถูกกฎหมาย ผ่านการขออนุญาตเป็นผู้ประกอบการธุรกิจนาโนไฟแนนซ์ และพิโกไฟแนนซ์ ซึ่งในส่วนนี้เองล่าสุดกระทรวงการคลังได้อนุญาตให้ผู้ประกอบการสามารถให้สินเชื่อจำนำทะเบียนรถยนต์ และรถจักรยานยนต์ได้ นั่นหมายถึงจะทำให้ผู้ประกอบการธุรกิจพิโกไฟแนนซ์ สามารถให้บริการสินเชื่อที่หลากหลายมากขึ้น จากเดิมปล่อยสินเชื่อตามปกติ ในอัตราดอกเบี้ยที่กำหนดเท่านั้น 3การลดภาระหนี้นอกระบบโดยการไกล่เกลี่ยประนอมหนี้ โดยจะมีคณะอนุกรรมการไกล่เกลี่ยประนอมหนี้ที่มีอยู่ในทุกจังหวัด จัดให้มีจุดให้คำปรึกษาหนี้นอกระบบโดยธนาคารออมสินและ ธกสทุกสาขาทั่วประเทศ เพื่อให้ความช่วยเหลือลูกหนี้อย่างทั่วถึง 4การเพิ่มศักยภาพของลูกหนี้นอกระบบ โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ให้ความรู้ทางการเงิน ให้ความรู้ด้านการประกอบอาชีพ และการพัฒนาฝีมือแรงงาน เพื่อให้ลูกหนี้มีรายได้เพียงพอ ไม่ต้องเป็นหนี้ซ้ำอีก และ 5การร่วมมือกันอย่างบูรณาการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยพัฒนาเครือข่ายองค์กรการเงินชุมชนให้ทำหน้าที่ทดแทนเจ้าหนี้นอกระบบ การให้หน่วยงานของรัฐ ธนาคารออมสิน และ ธกสทำหน้าที่เป็นหน่วยงานพี่เลี้ยงเพื่อสนับสนุนเงินทุนให้องค์กรการเงินชุมชนเกิดความแข็งแกร่ง ที่ผ่านมารัฐบาลประกาศชัดเจนว่าตั้งเป้าหมายในการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบให้เป็นศูนย์ ด้วยการวางแผน วางแนวทางในการแก้ปัญหาทุกส่วน ทั้งในส่วนของเจ้าหนี้ และลูกหนี้นอกระบบอย่างบูรณาการ ซึ่งหลายฝ่ายมองว่า แนวทางที่ได้วางไว้จะประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดี เพราะได้รับความร่วมมือจากหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งถือเป็นครั้งแรกที่ทำงานร่วมกันอย่างบูรณาการ ทำให้เกิดความคาดหวังเกี่ยวกับผลสำเร็จจากโครงการนี้นั่นเอง เพราะจากข้อมูลพบว่ามีลูกหนี้นอกระบบประมาณ 13 ล้านราย คิดเป็นมูลหนี้ 1 แสนล้านบาท ขณะที่มีเจ้าหนี้นอกระบบรายใหญ่ๆ อยู่ประมาณ 100 ราย ในส่วนนี้พบว่ากว่า 50% อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ และภาคใต้ตามลำดับ และล่าสุดกับความคืบหน้าในการแก้ปัญหาหนี้นอกระบบ ในเดือน สคที่ผ่านมา พบว่าตั้งแต่เดือน ธค2559 กระทรวงการคลังได้ออกใบอนุญาตการประกอบธุรกิจสินเชื่อพิโกไฟแนนซ์ไปแล้ว 386 ราย ใน 64 จังหวัด ซึ่งในจำนวนนี้ได้เปิดดำเนินการแล้ว 310 ราย ใน 63 จังหวัด และมีผู้ประกอบการที่ปล่อยสินเชื่อแล้ว 287 ราย ใน 60 จังหวัด โดย ณ สิ้นเดือน กคที่ผ่านมา มียอดสินเชื่ออนุมัติสะสม 303 หมื่นบัญชี รวมเป็นเงิน 78545 ล้านบาท คิดเป็นวงเงินสินเชื่ออนุมัติเฉลี่ย 258 หมื่นบาทต่อบัญชี ประกอบด้วย สินเชื่อแบบมีหลักประกัน 158 หมื่นบัญชี เป็นเงิน 47498 ล้านบาท คิดเป็น 6047% ของจำนวนสินเชื่อที่อนุมัติ และสินเชื่อแบบไม่มีหลักประกัน 144 หมื่นบัญชี เป็นเงิน 31047 ล้านบาท คิดเป็น 3953% ของจำนวนสินเชื่อที่อนุมัติ ขณะที่ยอดสินเชื่อคงค้างรวมทั้งสิ้น 135 หมื่นบัญชี คิดเป็นเงิน 32941 ล้านบาท ส่วนสินเชื่อค้างชำระไม่เกิน 3 เดือน อยู่ที่ 796 บัญชี คิดเป็นวงเงิน 2651 ล้านบาท หรือ 805% ของยอดสินเชื่อคงค้างรวม และมีสินเชื่อค้างชำระเกินกว่า 3 เดือน (เอ็นพีแอล) อยู่ที่ 276 บัญชี คิดเป็นเงิน 806 ล้านบาท หรือ 245% ของสินเชื่อคงค้างรวม ขณะที่เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ดำเนินการกวดขันจับกุมเจ้าหนี้นอกระบบและผู้ติดตามทวงถามหนี้โดยวิธีการผิดกฎหมายอย่างจริงจังและต่อเนื่อง โดยผลการดำเนินการสะสมตั้งแต่เดือน ตค2559 ถึงเดือน สค2561 มีการจับกุมผู้กระทำความผิดรวมทั้งสิ้น 317 พันราย...
ลิงค์ที่เป็นมิตรเวลาปัจจุบัน:2021-03-01